รื่นเริงและเสรี
รื่นเริงและเสรี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปริญญา ตันติสุข
เทคนิค : สีอะคริลิคบนผ้าใบ
ขนาด : 210 x 300 เซนติเมตร
ภาพนี้อาจารย์ปริญญาเล่าว่า ต้องการสื่อความรู้สึกถึงความรื่นเริงและเสรีภาพของชีวิต ผ่านเรื่องราวความ ประสานสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์และธรรมชาติ แสดงความสุข ความรุ่งเรือง ความกว้างใหญ่ไพศาล ความ สะอาด ความสุภาพอ่อนโยน สิ่งอันเป็นมงคลกับชีวิต โดยนำเสนอออกมาในแนวสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น
“ผืนแผ่นดิน” สร้างด้วยโครงสีเทาน้ำตาลอมม่วง มีน้ำหนักออกไปทางเทาอ่อน เป็นโครงสีส่วนรวมของ ภาพ เป็นโทนสีดินหรือ Earth Tone อาจพบได้ในสีที่ให้ความรู้สึกเป็นแบบไทย ให้ความรู้สึกถึงความสงบสุข ความอ่อนโยน ความกว้างใหญ่ไพศาลของแผ่นดิน
“แถบสีรุ้ง” สร้างด้วยสีเลื่อมมีผิวเป็นประกายวาว ระยิบระยับพราวตา ปาดเป็นแถบอุ้มโอบล้อมเรื่อง ราวของชีวิตต่าง ๆ ในผืนแผ่นดินให้ความรู้สึกสิ่งที่สำคัญและเป็นมงคล
“นกใหญ่สีขาว 3 ตัว” บินล้อรอบแถบรุ้งแสดงความอิสระเสรี ความสะอาด ความกล้าหาญ ความเป็น ผู้นำ การมองไกลมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่
“บ้านสีขาว” ปรากฏบริเวณกลางภาพค่อนไปทางด้านบน ให้ความรู้สึกถึงองค์กร สถาบัน ที่อยู่อาศัยที่ ทำกินที่มีความสะอาดเป็นสุข บ้านถือเป็นพื้นที่ของครอบครัวที่สำคัญในการปลูกฝังผู้คนในสังคมให้เติบโต อย่างมีคุณภาพ
“บันไดสีทอง” จากด้านซ้ายเฉียงเป็นชั้นขึ้นไปสู่ตัวบ้าน ให้ความรู้สึกถึงการเดินทาง การไปสู่ที่สูง การ พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น การพัฒนาที่เกิดและเติบโตไปพร้อมกันทั้งในส่วนกาย สุขภาพความแข็งแรง และจิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ ความคิดสร้างสรรค์
อาจารย์เล่าว่า ความหมายของภาพสอดคล้องกับสิ่งที่ดำเนินหรือเป็นไปในชีวิตอยู่แล้ว รวมถึงเครือ CP ด้วย เช่น ภาพนี้เป็นภาพมุมกว้างแสดงความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน CP เองก็เป็นอาณาจักรเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ ภาพ เป็นทิวทัศน์ของเกษตรกรรม มีความเป็นทุ่ง ท้องน้ำ ชีวิตเกษตรกรรม ซึ่ง CP ก็มีรากฐานและเติบโตมากับ การเกษตร ครอบคลุมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และพัฒนาเติบโตไปกับสิ่งใหม่ ๆ เช่น เรื่องการสื่อสาร โทรคมนาคม เรื่องการศึกษา บ้านสีขาวหลังใหญ่ในภาพนี้ก็อาจเปรียบเทียบเป็นเช่นสถาบันผู้นำ เป็นบ้านที่จะ อบรมฟูมฟักผู้คนให้เติบใหญ่อย่างมีคุณค่าและความสามารถ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่สุด ชีวิตทุกคนที่ก้าวขึ้นบันไดไปสู่บ้านหลังนี้ จึงต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีมีความสามารถ รู้จักคิดรู้จัก สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ การที่เครือ CP เล็งเห็นความสำคัญในการเสริมสร้างหล่อหลอมผู้นำที่ดีออกไป การสร้างคนสร้างผู้นำที่เปรียบเสมือนนกใหญ่สีขาวที่บินไม่หยุด มีความสะอาดโปร่งใส มีวิสัยทัศน์ มีอิสระเสรี กล้าเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะแสวงหาสิ่งใหม่
สรุปแล้วภาพนี้แสดงถึงความสงบสุข ความสนุกเสรี มีรูปแบบกึ่งนามธรรม ใช้จินตนาการผสมผสานกับรูปแบบ อุดมคติในจิตรกรรมไทยประเพณีทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ใช้รูปทรงและสีต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แทนค่าสื่อ ความหมาย เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะที่แสดงออกทางด้านบวก การมองโลกในแง่ดี ให้ความสุขแก่ผู้รับชม ให้กำลังใจให้ความหวัง แสดงการคิดดีทำดี ในชีวิตจริงคนเราต้องต่อสู้แก้ไขปัญหาอุปสรรคในชีวิตตลอดเวลา คนเราเกิดมาก็ต้องเจอความทุกข์ เป็นไปตามกฏธรรมชาติ อย่างไรก็ดีคนเราควรมีความหวังมีกำลังใจในการ ทำงานให้ประสบความสำเร็จและเป็นผลดีทั้งกับตัวเองและผู้อื่น
เบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงาน
อาจารย์เล่าถึงเบื้องหลังการสร้างสรรค์งานชิ้นนี้ว่า ได้รับการติดต่อทาบทามในการสร้างงานศิลปะราวปลายปี พ.ศ. 2562
เริ่มจากการกำหนดขนาดที่ได้รับโจทย์ว่าเป็นงานขนาดใหญ่แนวนอนประมาณ 3 เมตร จึงคิดถึงเนื้อหาเรื่องราว ที่จะเขียนให้มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมหรือเรื่องราวขององค์กรและสถานที่ติดตั้งงาน คือ สถาบันผู้นำของ เครือ CP เมื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับองค์กรเห็นว่ามีรากฐานและให้ความสำคัญกับการเกษตรกรรม จากนั้นได้ ไปศึกษารูปแบบและวิถีเกษตรต่าง ๆ เช่น โครงการในพระราชดำริเกี่ยวกับเกษตรกรรม ภาพจิตรกรรมไทย ประเพณีที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น สัตว์เกษตร ชีวิตความเป็นอยู่ ทิวทัศน์สวนไร่นา
เมื่อได้ข้อมูลมาพอสมควรแล้วจึงเริ่มสร้างแบบร่าง (Sketch) เป็นภาพลายเส้น 2-3 แบบ ทดลองจัดองค์ ประกอบภาพโดยวางรูปทรงต่าง ๆ ลงในพื้นที่ว่าง ขยับปรับเปลี่ยนจนเป็นที่พอใจ ระหว่างนี้กลับไปศึกษาดูพื้นที่ เพื่อทบทวนเพิ่มเติมพร้อมกับลงโครงสีส่วนรวมของภาพแบบร่าง และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ไปพร้อมกันด้วย
ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ลงสีพื้นงานขนาด 2.10 X 3 เมตร การลงสีพื้นเป็นการกำหนดโครงสีส่วนรวมโดย ลงสีพื้นทับกันหลายครั้ง ประมาณ 5-6 ครั้ง เพื่อให้สีเกิดความแน่น บางพื้นที่ต้องขัดผิวออกด้วยกระดาษทราย เพราะต้องการให้ปรากฏลายผิว
จากนั้นลงรูปทรงที่เป็นส่วนโครงใหญ่ เช่น แถบรุ้ง ใช้เกรียงหน้าตัดปาดสีที่มีคุณลักษณะพิเศษ มีความเลื่อม พรายโปร่งใส ตรวจสอบการปาดสีว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ หากมีบางส่วนสีมากหรือน้อยเกินไป ต้อง แต่งหรือลบออกก็แก้ไขในคราวนั้น
เมื่อลงรูปทรงโครงใหญ่แล้วจึงลงตำแหน่งรูปทรงย่อย เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก ต้นไม้ พุ่มไม้ ก้อนหิน เนิน ต่าง ๆ โดยส่วนนี้ได้คัดลอกแบบมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในท้องถิ่นและส่วนกลาง นำภาพเหล่านั้นมาปรับ ขนาด สัดส่วนให้เป็นไปตามที่ต้องการสอดคล้องกับแบบร่างด้วยเครื่องมือและโปรแกรมตกแต่ง
ภาพ นำภาพ ต่าง ๆ ที่ปรับแล้วพิมพ์และนำมาปะติดแต่ละชิ้นตามตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงเดี่ยวหรือ เป็นกลุ่ม ทดลองจัดและปรับแต่งองค์ประกอบของภาพรูปทรงแต่ละชิ้นเหล่านี้ เช่น เปลี่ยนจากบนลงล่าง หรือ ซ้ายไปขวา สลับกันไปมาจนเห็นว่าพอใจและแสดงตามวัตถุประสงค์แนวคิดเกี่ยวกับ ความรื่นเริงและอิสระเสรี
ระหว่างการสร้างงานชิ้นนี้ตั้งแต่การเตรียมลงสีพื้นเป็นต้นมาเป็นช่วงของการกำหนดเคอร์ฟิวและการรณรงค์ให้ ทำงานอยู่กับบ้าน เพื่อเป็นการให้กำลังใจต่อกันจึงนำภาพกระบวนการสร้างงานชิ้นนี้เผยแพร่ใน Facebook เพื่อปลุกใจและปลุกไฟให้กับคนทำงานศิลปะ เพราะคนในวงการศิลปะก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ เพื่อ ให้ทุกคนมีความหวัง หลายคนเมื่อเจอปัญหาก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี จึงใช้การทำงานศิลปะบำบัดเยียวยาจิตใจให้ เกิดสติสมาธิ และต่างช่วยกันเผยแพร่การสร้างศิลปะว่าใครกำลังสร้างงานอย่างไรอยู่บ้าง บางคนก็ถามมาก็ ตอบว่ากำลังสร้างงานชิ้นนี้ให้กับทางสถาบันผู้นำอยู่
งานชิ้นนี้ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6-7 เดือน แต่ไม่ได้ทำทุกวัน บางช่วงหยุดพัก เพราะต้องไปทำงานอย่างอื่น เช่น การสอนที่ต้องเตรียมเนื้อหาการสอน การสอนที่ปรับมาเป็นการสอนแบบ Online ที่ต้องปรับตัวอยู่เหมือน กัน การประชุมสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ แต่ไม่ถึงขาดตอนไปเสียทีเดียว ยังสามารถทำงานเป็นระยะ ๆ ได้ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะบันทึกการสร้างงานไว้เป็นระยะ ๆ ด้วย
27 เมษายน ร่างภาพรูปทรงย่อย เช่น ต้นไม้ พุ่มไม้ ระบายสีบันไดในเดือนพฤษภาคม รวมถึงระบายสีรูปทรง ต่าง ๆ เช่น รูปร่างคล้ายคน สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก ภูเขา เนินดินในเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม จนประมาณ ช่วงสิงหาคม - กันยายน งานจึงใกล้แล้วเสร็จ เดือนพฤศจิกายนนำงานเข้ากรอบ คือทุกอย่างในงานชิ้นนี้ตั้งแต่ ต้นจนจบได้ทำให้อย่างดีที่สุด แม้แต่งานเข้ากรอบคนทำให้เป็นประติมากรที่มีความถนัดในงานไม้ เป็นการเข้า กรอบภาพที่ประณีต เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงจัดส่งให้สถาบันผู้นำในเดือนธันวาคม
การสร้างงานชิ้นนี้อาจารย์เล่าถึงความเป็นตัวตนที่ถูกหล่อหลอมมาจากการศึกษาและจากการอยู่ในครอบครัว ศิลปิน คุณพ่อคือ อาจารย์สวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2534 คุณแม่ เป็นอดีตข้าราชการเกษียณ กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และจิตรกรอาวุโสที่มีผลงานสำคัญในการวาดภาพ พระบรมสาทิสลักษณ์และภาพเหมือนบุคคลสำคัญของประเทศ ทั้งสองท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และส่วนตัวอาจารย์ได้รับการศึกษาศิลปะจากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถูกสอนให้ตระหนักว่าศิลปะที่จะสร้างขึ้นต้องคำนึงถึงคุณภาพอันเป็นคุณค่าทางศิลปะ คุณค่าทางศิลปะนี้เป็น รากฐานมาสู่การสร้างสรรค์งาน รวมถึงงาน “รื่นเริงและเสรี” ชิ้นนี้
การเข้าถึงงานชิ้นนี้เป็นเช่นเดียวกับงานศิลปะโดยทั่วไป คือ ผู้ชมควรเข้าถึงด้วยความรู้สึก ไม่ว่างานศิลปะจะ เป็นรูปแบบเหมือนจริงที่ดูรู้เรื่อง แบบกึ่งเหมือนจริงที่รูปปรากฏไม่เป็นอย่างของจริงแต่พอนึกเค้าออกว่าเป็นรูป เป็นเรื่องของอะไร หรือนามธรรมที่สลัดทิ้งเรื่องราวไปเสียแทบทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทุกงานทุกแบบจะแสดงออกซึ่ง ความรู้สึก เพราะความรู้สึกคือส่วนสำคัญในการแสดงความเป็นมนุษย์ เป็นสุนทรียะอันได้แก่ ความจริง ความดี และความงาม
ซึ่งงานของอาจารย์เป็นแบบกึ่งนามธรรม ไม่เขียนให้เหมือนจริงเสียทีเดียว แต่ก็ไม่ใช่ดูไม่รู้เรื่อง ผู้ชมสามารถ คาดเดาได้ว่าอะไรเป็นอะไร ในเรื่องรูปแบบเป็นการประยุกต์วิธีคิดการสร้างรูปจิตรกรรมไทยแบบประเพณี เช่น เป็น 2 มิติ ไม่มีปริมาตร ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่านำมาปรับแต่งได้ง่าย ไม่อิงมีทัศนียวิทยาแบบตะวันตกหรือเหมือน จริง แต่เป็นแบบขนาน รูปทรงเป็นแบบอุดมคติ มีความสนใจในวิธีการนี้ เพราะเหนือจริงและชวนให้ฝันได้อิสระ ทำให้จินตนาการได้สนุก ซึ่งนำมาใช้กับงานชิ้นนี้ด้วย
รู้สึกยินดีที่สถาบันผู้นำเห็นคุณค่าของงานศิลปะ งานศิลปะเป็นเช่นเดียวกับงานทุกอย่างของมนุษย์ที่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจ แล้วจะเห็นประโยชน์คุณค่าที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสิ่งที่สะท้อนให้เห็นและตระหนัก ช่วยยก ระดับจิตใจให้สูง ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า เวลาเราไปดูงานศิลปะ จะเป็นงานประติมากรรม จิตรกรรม ภาพพิมพ์ หรือศิลปะแบบใดก็ตาม เรามักเริ่มต้นด้วยการถามว่า นี่เป็นรูปเป็นเรื่องอะไร ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เป็นประเด็น สำคัญ ไม่ใช่หัวใจสำคัญของผลลัพธ์จากงานศิลปะ แต่ผลลัพธ์ที่แท้จริงคือ งานศิลปะนั้นสื่อสะท้อนหรือแสดง
ให้เรารู้สึกอย่างไรบ้าง ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนเครื่องรับเสียใหม่ แทนที่จะเอาตาของเราไปดูภาพเพื่อรู้เรื่อง เปลี่ยน เป็นเอาตาไปดูเพื่อให้ใจได้เห็นและรู้สึก คือเอาจิตใจของเราเป็นตัวมองเห็นความรู้สึกที่อยู่ภายในภาพ ไม่ใช่ เอาตาเราไปเห็นแต่เพียงสิ่งภายนอก เมื่อมองเห็นเป็นแล้วก็ช่วยกันเผยแพร่ อาจมีการอบรมให้ความรู้เรื่อง ศิลปะ พัฒนาจากงานสะสมของสถาบันผู้นำ ขยายต่อไปก็ได้ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนะรรมให้ กับสมาชิกของเครือ CP และท้องถิ่น ยิ่งมีการติดต่อกันกับบุคคลหรือองค์กรต่างประเทศ ให้ได้รับรู้ว่างานศิลปะ ไทยร่วมสมัยมีลักษณะโดดเด่นมีเอกลักษณ์ ก็จะทำให้เกิดความก้าวหน้าสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกันผ่านเครื่อง มือทางวัฒนธรรมชั้นดี คือ งานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยที่สถาบันผู้นำได้สะสม เอาไว้
ประวัติศิลปิน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปริญญา ตันติสุข
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2561 สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2498
จบศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาจิตรกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และประกาศนียบัตรวิจิตรศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชิสุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
อาจารย์มีแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่แสดงออกเป็นด้านบวก ผ่านเรื่องราวของการดำเนินชีวิตใน แต่ละช่วงวัย เช่น ความประสานสัมพันธ์ระหว่างชีวิตหนึ่งกับอีกชีวิตหนึ่ง หรือชีวิตกับธรรมชาติ หรือชีวิตกับ สังคมสิ่งแวดล้อม เนื้อหาเรื่องราว รูปแบบและเทคนิคของงานจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ของตนเอง ที่ได้รับ อิทธิพลจาก สิ่งรอบตัวตามแต่ละช่วงวัย เช่น ช่วงวัยหนุ่ม ช่วงมีครอบครัว ช่วงที่ได้ไปสัมผัสกับธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แตกต่าง ช่วงวัยทำงานบริหาร พบเจออุปสรรค ช่วงหลังจากเกษียณราชการ โดยนำเนื้อหาเรื่องราว แต่ละช่วงวัยมาเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาสร้างสรรค์งานจนมีลักษณะเฉพาะตน เป็นคนชอบเที่ยวชอบ ศึกษา เช่น เมื่อเที่ยวป่าได้เห็นสีรูปทรงของดอกไม้ของแมลงที่แปลกตา ช่วงที่ต้องอยู่บ้านก็สังเกตุสิ่งรอบ ๆ บ้าน หลายสิ่งสร้างแรงบันดาลใจ และสามารถขยายความหมายให้เกิดความลึกซึ้งในสิ่งนั้น ๆ ได้ เช่น บ้านที่ นอกจากเป็นความหมายปกติ อาจสะท้อนไปถึงความเป็นบ้านเมือง เป็นประเทศ เป็นโลกก็ได้ รวมไปถึงการนำ สิ่งต่าง ๆ จากของเดิมมาปรับใช้ เช่น งานศิลปะพื้นบ้าน เป็นต้น